วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หมีแพนด้า





หมีแพนด้า

ประวัติหมีเเพนด้า
เนื่องจากในสมัยดึกดำบรรพ์ แพนด้ายักษ์ หรือ ต้าสงเมา มีอยู่มากมาย กระจายตามถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ในบันทึกเรื่องเกี่ยวกับแพนด้าของจีน จึงมีคำเรียกสัตว์ชนิดนี้ ในภาษาจีนแตกต่างหลากหลาย อาทิ ‘ผี’หรือ‘ผีซิ่ว’(ชื่อที่เรียกในสมัยโบราณ) ‘ไป๋สง (หมีขาว) ฮัวสง (หมีลาย) จู๋สง (หมีไผ่) บางถิ่นเรียกแตกต่างออกไป เช่น แถบเทือกเขาหมินซันบริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติทิเบต เรียก "ตั้ง’"หรือ "ตู้ต้งก่า" แต่ชนชาติอี๋แถบเทือกเขาเหลียงซัน เรียก ‘เอ๋อชีว์’ เป็นต้น
熊猫 (สงเมา) คำเรียกแพนด้าในภาษาจีนกลาง สง แปลว่า หมี เมา แปลว่า แมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca แปลว่า สัตว์ที่มีลำตัวเป็นสีขาวดำ มีเท้าเหมือนแมว
"สงเมา" (แมวที่เหมือนหมี) เป็นคำเรียกในปัจจุบัน แต่จริงๆแล้ว ช่วงจีนก่อนยุคปลดแอกได้เคยเรียกแพนด้าว่า "เมาสง" (หมีที่เหมือนแมว)มาก่อนนะจ๊ะ 猫熊(เมาสง) เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคปัจจุบัน หมายถึง สัตว์ที่มีหน้าตากลมๆอ้วนๆคล้ายแมว แต่รูปร่างใหญ่คล้ายหมี จนบางคนถึงกับจัดมันให้อยู่ในประเภทเดียวกันกับหมี
เนื่องจากคนจีนในสมัยก่อนเวลาเขียนหนังสือจะเขียนตัวอักษรไล่จากบนลงล่างตามแนวตั้ง และอ่านจากแถวขวาไปซ้าย ซึ่งแตกต่างจากการเขียนในปัจจุบัน ที่เรียงตัวอักษรตามแนวนอน และอ่านจากซ้ายไปขวา มีครั้งหนึ่งเมื่อพิพิธภัณฑ์เป่ยเป้ย ในมณฑลซื่อชวน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแพนด้าในประเทศจีน ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าเมาสงนี้ และได้เขียนคำอธิบายตามแบบการเขียนในปัจจุบัน แต่บังเอิญมีผู้เข้าชมคนหนึ่งแกติดนิสัย การอ่านหนังสือแบบจีนรุ่นเก่า เลยอ่าน "เมาสง" เป็น "สงเมา" เสียนี่ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกติดปากกันต่อๆมาอย่างผิดๆนี่แหละ
อย่างไรก็ตามจะแมวหมีหรือหมีแมว นักชีววิทยาก็จัดแพนด้าอยู่ในสัตว์ประเภทหมี ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ประเภทเดียวกับแมวจ้า

ลักษณะเด่น
ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก จะมีสีขาว ส่วนรอบๆตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ หัวของหมีแพนด้า จะใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว กว่าหมีชนิดอื่นๆ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้
ขนาด
หมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย มีขาหน้าที่แข็งแรง และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. ลูกหมีเพิ่งคลอดหนักเพียง 85-140 กรัม
ถิ่นที่อยู่
หมีแพนด้าจะอาศัยอยู่ที่ระดับสูง 1200-3500 เมตร ในป่าเขา ซึ่งมีต้นไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น เเละจะพบหมีแพนด้าเพียงตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แนวเขตที่ราบสูงของ ทิเบต ใน 6 พื้นที่เล็กๆ ของจังหวัด Sichuan Gansu และ Shaanzi รวมแล้วมีพื้นที่เพียง 14000 ตร.กม.
การสื่อสาร
หมีแพนด้าจะใช้กลิ่น อะซิติค ที่หลั่งออกมาจากบริเวณ ต่อมที่อยู่ใกล้ๆกับอวัยวะสืบพันธุ์ ไว้ตามต้นไม้ ก้อนหิน และใช้เสียงในการกำหนดขอบเขต โดยส่วนมากจะเป็นหมีเพศผู้ ส่วนการใช้เสียงของหมีเพศเมีย จะมีในช่วงที่จะผสมพันธุ์
อาหาร
อาหารของหมีแพนด้า 99% จะมาจากต้นไผ่ ตัวโตเต็มที่ จะกิน 12-15 กก./วัน แต่ถ้าเป็น ต้นหรือใบอ่อนของต้นไผ่ หมีแพนด้าสามารถกินได้ถึง 38 กก/วัน ซึ่งหนักถึง 40%ของน้ำหนักตัวมันเอง และอาหารอีกที่เหลือ จะเป็นพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งเนื้อด้วย ส่วนมาก หมีแพนด้าจะกินอาหารที่พื้น บางครั้งถึงจะปีนขึ้นไป กินอาหารบนต้นไม้


การสืบพันธุ์
หมีแพนด้าพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่ออายุ 4.5-6.5 ปี จะจับคู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นเดือน มี.ค.-พ.ค.เพศเมียมีช่วงเวลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์ 1-3 สัปห์ดา และ จะยอมให้มีการผสม 2-3 วันเท่านั้น จำนวนลูกที่คลอดออกมา มีเพียง 1-3 ตัว โดยปกติจะมีชีวิตรอดเพียงตัวเดียว ลูกหมีจะหย่านมเมื่ออายุ 9 เดือน แม่หมีแพนด้าจะคอยดูแลลูกตน จนกว่าจะถึง 18 เดือน
ระบบสังคม
ส่วนมากหมีแพนด้าจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ตัวเดียว ยกเว้นหมีแพนด้าแม่ลูกอ่อน ในช่วงฤดูกาลให้นมลูก หมีเพศผู้จะต่อสู้กัน เพื่อแย่งเข้าไป หากลุ่มแม่หมี อาณาเขตของหมีเพศเมีย ปกติแล้ว จะอาศัยซึ่งกันและกัน อาณาเขต จะซ้อนทับกันเป็นบางครั้ง ในขณะที่หมีแพนด้าเพศผู้ จะมีอาณาเขตที่กว้างครอบคลุมหมีเพศเมียทั้งหมด

กลเม็ดหาคู่
มีสามแบบสามวิธี วิธีแรกจีบด้วยกลิ่น โดยแพนด้าจะใช้ก้นถูๆ ตามโคนต้นไม้ ก้อนหิน และบนพื้นให้กลิ่นติด และโชยไปแตะจมูกฝ่ายตรงข้าม หรือวิธีที่สองจีบด้วยเสียงเพลง โดยขึ้นไปร้องเพลงรักไม่ซ้ำแบบบนต้นไม้บ้าง บนพื้นบ้าง เพื่อดึงดูดความสนใจของอีกฝ่าย เพลงยอดฮิตก็คือ เลียนเสียงร้องของนก หรือเสียงแพะ และวิธีการจีบกันจะแสดงออกด้วยท่าทาง โดยบางตัวอาจแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข กัดกิ่งไม้บ้างตามประสา ฝากรอยข่วนไว้ตามต้นไม้ เพื่อให้เตะตาฝ่ายตรงข้าม เมื่อทั้งสองต่างปิ๊งกันก็เข้าหอกันในทุ่งกว้างตามเชิงเขา ก็มีบางตัวที่หนีขึ้นไปบนต้นไม้


ลักษณะทางกายภาพ
แพนด้ามีขนบริเวณ หู รอบดวงตา จมูก ขา หัวไหล่ สีดำ ในขณะที่บริเวณอื่นจะมีสีขาว มีฟันกรามขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรงสำหรับเคี้ยวต้นไผ่ ซึ่งเป็นอาหารของมัน ตัวของมันที่อ้วนและลักษณะการเดินที่อุ้ยอ้าย ทำให้มันดูเป็นสัตว์ที่น่ารัก แต่ในยามที่มีภัยมาถึงตัว แพนด้าก็มีวิธีการต่อสู้เหมือนหมีทั่วๆ ไป นักวิทยาศาสตร์คิดว่าลักษณะสีขาว-ดำ ของแพนด้า อาจช่วยให้มันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขา และมีหิมะ








ถิ่นที่อยู่อาศัย แพนด้าอาศัยอยู่ในป่าไผ่ที่ความสูงประมาณ 3,600 ถึง 10,500 ฟุต ซึ่งครั้งหนึ่งพวกมันเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต่ำกว่านี้ แต่การถางป่าเพื่อทำฟาร์ม หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ทำให้มันต้องเปลี่ยนถิ่นที่อยู่อาศัยเราพบแพนด้าอาศัยอยู่บริเวณภูเขาทั้งในตอนกลางและตะวันตกของประเทศจีน




ศัตรู แพนด้าที่โตเต็มที่แล้วมีศัตรูน้อยมาก ศัตรูของมัน ได้แก่ เสือดาวที่อาศัยอยู่บนภูเขาที่มีหิมะ ซึ่งจับลูกหมีแพนด้าที่พลัดจากแม่ของมันกินเป็นอาหาร หรืออาจเป็นฝูงหมาป่าที่จับลูกหมีกินเช่นกัน แต่ศัตรูที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ที่ล่าแพนด้าเพื่อนำหนังมาขายในตลาดมืด






การสืบพันธุ์
ระยะเวลาผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ตัวเมียจะมีความต้องการเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ตัวผู้และตัวเมียมาพบกันคือ เสียงร้อง หรือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากตัวผู้หรือตัวเมียตามจุดต่างๆ เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ตัวเมียใช้ระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ 95 ถึง 160 วัน และถึงแม้ว่าแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าฝาแฝดได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลูกแพนด้าเพียงตัวเดียวที่รอดชีวิต เนื่องจากอาหารที่จำกัด ถ้ายกเว้นสัตว์จำพวกจิงโจ้แล้ว เราถือว่าลูกแพนด้าเป็นลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด ลูกแพนด้าที่เกิดใหม่มีน้ำหนักเพียง 4 ถึง 6 ออนซ์เท่านั้น (110 ถึง 170 กรัม) และยังไม่ลืมตา ลูกแพนด้ามีการเจริญเติบโตที่ช้า จะมีน้ำหนักเท่ากับแพนด้าพ่อ-แม่ของมันเมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 4 ปี ลูกแพนด้าจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง เนื่องจาก อายุที่สามารถสืบพันธุ์ได้ของแพนด้าตัวเมีย อยู่ในช่วงประมาณ 6 ถึง 20 ปี และตัวเมียจะให้กำเนิดลูกอย่างมาก 2 ปีต่อลูกแพนด้า 1 ตัว ดังนั้นแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าได้อย่างมากประมาณ 7 ตัว ในช่วงอายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการให้กำเนิดลูกที่น้อยมาก และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนแพนด้าที่เกิดใหม่จึงไม่สามารถทดแทนแพนด้าที่ตายไปจากการถูกล่าได้ การลดจำนวนลงอย่างมากของหมีแพนด้าในระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้มีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์หมีแพนด้าขึ้น








อายุขัย นักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ว่าแพนด้ามีอายุได้ยืนยาวเท่าไร มีสถิติที่บันทึกไว้โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนว่า แพนด้าที่สวนสัตว์มีอายุถึง 35 ปี


พฤติกรรม แพนด้ามักอยู่ในท่านั่งเวลากินอาหาร ซึ่งคล้ายกับคนนั่ง มันใช้อุ้งเท้าของมันช่วยจับต้นไผ่ในขณะที่กินอาหาร เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพักผ่อน การกิน และการหาอาหาร งานวิจัยช่วงแรก ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า แพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่โดยลำพัง จะพบกันเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากงานวิจัยต่อมา พบว่าแพนด้ามีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยแต่ละกลุ่มมีการใช้ถิ่นที่อยู่อาศัยบางบริเวณร่วมกัน และบางครั้งสมาชิกในกลุ่มหนึ่งออกมาพบสมาชิกในกลุ่มอื่นในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการทำวิจัยต่อไป






















































ช้างไทย





ช้างทีเหลืออยู่ในปัจจุบันนั้น คือ ช้างเอเชีย กับช้างแอฟริกา
ช้างเอเชียนั้นชื่อก็บอกไว้ชัดเจนแล้วว่าถิ่นกำเนิดของมันก็ต้องอยู่ในเอเชีย คือช้างที่เห็นๆ กันในบ้านเรานี่แหละ และช้างที่อยู่แถวๆ พม่า อินเดียอินโดนีเซียก็ใช่ทั้งนั้น ส่วนเจ้าช้างแอฟริกานั่น แน่ละมันก็มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา และซีเรีย แซมเบีย แล้วก็อาจจะพูดไดคลุมๆ ไปได้เลยว่าอยู่ในภูมิประเทศแถบนั้น เราควรได้รู้ก็ไว้สักหน่อยว่า ช้างเอเชียนั้นรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และช้างแอฟริกา นั้นแตกต่างออกไปอย่างไร เวลาเจอหน้ากันกลางป่าจะได้รู้จักและทักทายได้ถูก
เชฟหรือสัดส่วนนั้น ฝรั่งบอกไว้ว่าช้างเอเชียมีความสูงเฉลี่ย 7 ฟุต 9 นิ้ว วัดรอบอกเฉลี่ย 11 ฟุต 6 นิ้ว หรือจะสูงเฉลี่ยราว 2.30 เมตร น้ำหนักตัวราว 1.65 เมตร ส่วนช้างแอฟริกานั้นจะสูงกว่าราวๆ 1 เมตร หนักกว่าราวๆ 3 ตัน งาก็ยาวกว่าเกือบๆ 2 เมตร เวลาเจอกันกลางป่าจะมัววัดความสูง วัดงา กะประมาณน้ำหนักอยู่มันคงไม่ไหวหรอกดูอย่างอื่นก็แล้วกันแต่ถ้าดูไกลๆ จะเห็นว่าช้างแอฟริกานั้นมีหูที่ขนาดใหญ่มากจนมองตรงๆ จะปิดคอปิดไหล่กางเหมือนพัด ช้างบ้านเรามีหัว 2 ลอน แต่ช้างแอฟริกาหัวมีลอนเดียว ถ้าหัวหลิมล่ะก็ไม่ผิดหรอก ช้างแอฟริกา



ธรรมชาติของช้าง
ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นโขลง ช้างฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง ๕ - ๑๐ เชื่อก แต่ละโขลงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของ ฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่ มี ความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า "ช้างโทน" ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ ๖.๐๐-๑๒.๐๐ น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป ๓ วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก ๑ - ๒ วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไป มันอาจ จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม นิสัยของช้าง ช้างเอเชียหรือช้างไทยโดยทั่วๆไป เมื่อนำมาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานได้แล้ว จะมีนิสัยฉลาด สุภาพ และรักเจ้าของ เว้นแต่ใน บางขณะ เช่น ในเวลาตกมันซึ่งก็เป็นเพียงในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในเวลาตกมันช้างจะมีนิสัยดุร้าย จะทำร้ายช้าง ด้วยกันเองหรือทำร้ายเจ้าของ ตลอดจนสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อพ้นระยะตกมันแล้ว นิสัยดุร้ายจะหายไปเอง ช้างบางเชือกอาจจะมีนิสัย เกเรมาตั้งแต่กำเนิด แต่ก็ไม่มากนัก โดยปกติช้างเป็นสัตว์ที่ตื่นกลัวสิ่งของหรือสัตว์ที่มันไม่ค่อยพบเห็น โดยเฉพาะ ช้างเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกทางกลิ่นได้ดีมาก และมักจำกลิ่นที่มันเคยชินได้ดี ในด้านความฉลาดของช้างเอเชียหรือช้างไทยนั้น จะเห็น ได้จากการที่มันแสดงละครสัตว์หรือในด้านการไม้ มันได้แสดงความเฉลียวฉลาดของมันออกมา ในด้านการรักลูก มันรู้จักส่ง เสียงดุลูกหรือใช้งวงตีเมื่อลูกของมันซน นอกจากนั้น ยังมีผู้เคยพบว่า มันยืนเฝ้าศพลูกของมันที่ฝังดินไว้เป็นเวลา ๒-๓ วันก็มี
การกินการนอน การนอนหลับโดยปกติของช้าง มีระยะเวลาสั้น ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง เวลานอนของมันอยู่ในระหว่าง ๒๓.๐๐-๐๓.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น ลักษณะการนอน ของช้างเมื่อหลับสนิท จะนอนตะแคงลำตัวข้างใดข้างหนึ่งลงกับพื้น ช้างมีอาการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ถ้าหากพบช้างนอนหลับในเวลากลางวัน ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ช้างเชือกนั้นคงไม่สบายหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เนื่องจาก ช้างมีเวลาน้อยนั่นเอง มันจึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการกินอาหารและเดินท่องเที่ยวไปในป่า เวลาเดินไปก็กินหญ้าไป ตลอดทาง กล่าวกันว่า ช้างเชือกหนึ่งจะกินอาหาร และหญ้าคิดเป็นน้ำหนักประมาณ ๒๕๐ กิโลกรัมใน ๑ วัน เนื่องจากช้างไม่มีกระเพาะพิเศษ สำหรับเก็บอาหารไว้สำรอง แล้ว สำรอกออกมาเคี้ยวเอื้องในยามว่าง เหมือนดังเช่นวัวควาย แต่ช้างก็มีวิธีเก็บสำรองอาหารไว้กินในระหว่างเดินทาง หรือระหว่างทำงาน เช่น เอางวงกำหญ้าไว้ในขณะเดินทาง หรือเอาหญ้าและอาหารเหน็บไว้ที่ซอกงาของมัน

















จากหมีแพนด้าถึงช้างไทย






ข่าวหลินฮุ่ยกับลูกน้อยสามารถครองพื้นที่บางส่วนบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข่าวผ่านจอทีวีในแต่ละวันอีกด้วย
หมีแพนด้าน้อยลูกของหลินฮุ่ยกับช่วงช่วงนั้น จะไม่มีใครรู้จักเห็นจะไม่มี (ถ้าติดตามข่าวผ่านสื่อต่างๆ) พูดได้ว่ารู้จักมากกว่ารัฐมนตรีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร มีผลงานอะไรบ้าง เวลานี้อะไรๆ ก็หมีแพนด้า สินค้าเกี่ยวเนื่องด้วยรูปหมีแพนด้าที่ชายแดน ยอดขายพุ่งจนสินค้านั้นขาดตลาดวงการหวยซึ่งไม่ควรเกี่ยวกับหมี เพราะจะเป็นภาษาไทยที่ล่อแหลมเมื่อภาษาของเรามีคำผวนเป็นลักษณะหนึ่งของภาษาไทย ก็ยังเกิดหวยหมีเข้าจนได้ ซึ่งวิธีการเพื่อความปลอดภัยควรเรียกว่าหวยแพนด้าจะเหมาะกว่า คือ งวดที่ผ่านมานี้ 097 ตรงกับจำนวนวันที่หลินฮุ่ยตั้งท้อง พูดถึงเรื่องการตั้งท้องของหลินฮุ่ย ผู้เขียนเกิดความประหลาดใจ เพราะเข้าใจว่าหมีแพนด้าน่าจะท้องนานกว่า 97 วัน และยิ่งคำนึงถึงวันผสมเทียมก็ยิ่งไม่น่าจะตกลูกตอนนี้หรือว่าหลินฮุ่ยเธอท้องตามธรรมชาติก่อนผสมเทียม มิฉะนั้นคงมีใครแอบนำไผ่อาหารประจำการไปแช่น้ำยาเบนโล แล้วจึงค่อยเอาไปให้เธอกิน สมมุติฐานว่าหมีแพนด้าน้อยเป็นผลิตผลร่วมกันของหลินฮุ่ยกับช่วงช่วง ดังนั้น ช่วงช่วงที่ถูกจับแยกจึงพลอยมีชื่อติดอันดับไปด้วย เพราะหมีแพนด้าน้อยตัวนี้เป็นตัวแรกของปีนี้ ทั้งก่อนจะเกิดผลิตผลออกมา การผสมเทียมครั้งสุดท้ายก็เป็นการผสมนอกฤดูกาล องค์ความรู้เกี่ยวกับหมีแพนด้าของสัตวแพทย์และนักวิจัยชาวไทยที่เกี่ยวข้องจึงควรแก่การซูฮก ใช่แต่เท่านั้น ช่วงช่วงเห็นจะตัวเบาอีกครั้ง เพราะเขาจะจับพี่แกรีดน้ำเชื้อใส่หลอดส่งไปจีนเพื่อช่วยสาวๆ หมีแพนด้าจีนทำพันธุ์ ใครที่ประกาศสัจพจน์ว่า "นมเมียสำหรับผัว นมวัวสำหรับลูก" นั้น คำประกาศนี้ใช้ไม่ได้กับครอบครัวหลินฮุ่ย-ช่วงช่วง เพราะหลินฮุ่ยเชื่อเรื่องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ย่อมทำให้เด็กฉลาดแข็งแรง หลินฮุ่ยจึงให้นมแก่ลูกเอง ขาดไปเพียงลูกยังกินนมไม่ครบทุกเต้า ไม่เพียงให้นมตามเวลา หลินฮุ่ยยังอุ้มแพนด้าน้อยตลอดเวลา เกือบจะทนไม่ไหวก็ยื่นแขนยื่นขาออกมานอกกรง วานคุณพี่ที่เอาใจใส่เลี้ยงดูช่วยนวดเฟ้น เอาล่ะ หมีแพนด้าเป็นข่าวได้ เป็นภาพสวยๆ และน้ำจิตน้ำใจคนไทยก็เมตตาเอ็นดู ผู้เขียนอดคิดถึงช้างบ้างไม่ได้ ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย เราๆ ท่านๆ ที่เป็นไทยด้วยกันคิดถึงช้างอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวน่าเศร้าอย่างพังกำไลประสบอุบัติเหตุ โชคยังดีที่การรักษาได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ส่วนความบาดเจ็บของพังกำไลก็สาหัสนัก สำหรับข่าวเกี่ยวกับช้างอีกเชือก คือพังน้ำฝนลูกช้างที่ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เธอยังอยู่ในวัยที่ต้องกินนม หากเคราะห์ร้ายที่แม่ไม่ยอมให้นม ไม่โชคดีอย่างลูกของหลินฮุ่ย นอกจากพังน้ำฝนกินนมแม่ไม่ได้แล้ว ยังจะถูกแม่ไล่กระทืบอีก เขาต้องจับแยก และเลี้ยงพังน้ำฝนด้วยน้ำข้าวซึ่งทำให้ผอมผิดรูปช้าง
หมีแพนด้ามาอยู่กับเรา 6 ปีเศษ คณะสัตวแพทย์และนักวิจัยชาวไทย ได้มีประสบการณ์และองค์ความรู้เรื่องหมีแพนด้าอย่างน่าทึ่ง ขณะที่ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทยในประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีความสัมพันธ์กับสังคมไทยในบริบทต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นต้น องค์ความรู้เรื่องช้างของคนไทยย่อมมีมาก และยังมีช้างอยู่ในแผ่นดิน ไม่ต้องขอหยิบขอยืมช้างใครจากประเทศไหนมาประคบประหงม ส่วนวันข้างหน้านั้นไม่แน่ เมื่อช้างสิ้นจากแผ่นดินไทย ดังนั้น ความรู้ที่จะรักษาช้างไว้ได้ต้องเป็นความรู้ที่คู่คุณธรรม อีกทั้งพึงตระหนักว่าช้างไทยในทุกวันนี้อาภัพนักหนาแล้ว ไม่ต้องปลูกไผ่ไว้ให้ช้างกิน หรือไม่ต้องเลี้ยงช้างในห้องแอร์ เพียงแต่ป้องกันมิให้คนไปบุกรุกทำลายป่าอันเป็นที่อยู่ของช้างจนปราศจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ต้องออกจากป่ามาเสี่ยงต่อการบุกรุกแหล่งเกษตรกรรมของชาวบ้าน มากินพืชผักที่ปนเปื้อนสารพิษ ส่วนช้างที่เป็นช้างบ้านก็ดูแลรักษาเขา ไม่ถูกทำให้เป็นช้างขอทานเร่ร่อนในเมือง เสี่ยงอุบัติเหตุ ฯลฯ
ความจริงของช้างในโลกมีแค่ 2 ตระกูลใหญ่ๆ คือ ช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา สำหรับช้างไทยอยู่ในตระกูลช้างเอเชีย ช้างไทยชอบอากาศเย็น (แต่ไม่ถึงอยู่ห้องแอร์) จึงลงน้ำบ่อย ลอยคอในน้ำและว่ายน้ำได้ดี ที่อยู่ของช้างจึงมิใช่ข้างถนน ช้างนอนหลับคืนละ 3-4 ชั่วโมง (ระหว่างเวลา 23.00- 03.00 น.) กลางวันจะไม่นอนหลับยกเว้นป่วยไข้ คนไทยจะมีคำเรียกจำแนกเพศ ลักษณะช้างและลักษณะนาม ตามประเภท ได้แก่ เราเรียกช้างตัวผู้ว่าช้างพลาย ซึ่งมีงา ถ้าช้างตัวผู้ไม่มีงาจะเรียกว่าช้างสีดอ และเรียกช้างตัวเมียว่าช้างพัง ช้างตัวเมียตามปกติไม่มีงา อาจมีบ้างที่มีงาสั้นๆ จะเรียกว่าขนาย ช้างทั่วไปรูปร่างสูงใหญ่ หากยังมีช้างไทยชนิดหนึ่งสูงเพียง 2 เมตร เป็นช้างแคระซึ่งเรียกว่าช้างค่อม เคยมีแถวป่าเขาในจังหวัดสงขลา, พัทลุง ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว การที่ถือว่าช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย น่าจะมาจากช้างมีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะการเป็นช้างศึก ซึ่งเราใช้ช้างในงานพระราชการสงคราม สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงชนช้างกับพระเจ้าแปร ครั้นช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียทีแก่ข้าศึก พอดีกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งปลอมพระองค์เป็นชาย ขับช้างเข้าไปช่วย ก็ถูกพม่าข้าศึกฟันสิ้นพระชนม์บนช้างนั้น ยุทธหัตถีอันเลื่องลือยิ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ การยุทธหัตถีครั้งสำคัญ พ.ศ.2135 คราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงช้างชื่อว่าเจ้าพระยาไชยานุภาพ ชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่าที่ทรงช้างพลายพัทกอ กาลครั้งนั้นพระมหาอุปราชาถูกพระแสงของ้าวพระนเรศวรฟันจนขาดบนคอช้าง พระราชสงครามครั้งเดียวกันนี้ พระเอกาทศรถได้โดยเสด็จพระราชสงครามด้วย โดยทรงชนช้างกับมังจาจะโรพระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาซึ่งมีพลายพัดชะเนียงเป็นช้างศึก ผลการรบได้ถูกพระแสงง้าวพระเอกาทศรถฟันขาดบนคอช้างเช่นกัน นอกจากไทยสมัยโบราณมีช้างเป็นพาหนะสำคัญทำศึกกับอริราชศัตรูดังกล่าวแล้ว ในยุครัตนโกสินทร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยรบกับญวนที่เขมร พ.ศ.2388 กาลครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา แม่ทัพไทยไปตั้งรับที่เมืองอุดง ส่วนญวนใช้ทัพเรือเป็นขบวนใหญ่ถึงเมืองอุดง ท่านเจ้าพระยาบดินทรฯ ไม่มีกองเรือจะทำการยุทธนาวี จึงวางกลศึกปล่อยให้ญวนยกพลขึ้นบก จากนั้นท่านจึงบัญชาให้ใช้ช้างศึกไล่แทงข้าศึ โดยวางกำลังทหารราบตามตี จนข้าศึกต้องถอยทัพเรือคืนประเทศตน
เราจะเห็นว่าช้างมีความสำคัญต่อการรักษาเอกราชของแผ่นดิน และช้างยังมีความหมายทางวัฒนธรรมอีกหลายประการ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดขึ้นครองราชย์แล้วมีช้างเผือกเกิดขึ้นใต้ร่มพระบารมี ย่อมถือว่าทรงมีบุญญาธิการมาก ช้างเผือกที่รับการขึ้นระวางเป็นช้างต้นของหลวง จะมีอิสริยศ-เทียบชั้นเจ้าฟ้า ส่วนช้างสำคัญเชือกอื่นๆ อาจเป็นเจ้าพระยา พระยา หรือพระก็แล้วแต่ จึงมีคำเปรียบเปรยถึง "ยศช้าง ขุนนางพระ" อย่างไรก็ดี การที่ช้างมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยมาแต่โบราณกาล เมื่อแรกจะมีธงชาตินั้นช้างจึงเป็นธงชาติรูปช้างบนผืนผ้าสีแดง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็มีช้างเผือกในดวงตราเป็นสกุลเครื่องราชสำคัญ "ที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก" ในทางภาษาและวรรณคดี การที่บัญญัติคำเรียกช้างลักษณะนามของช้าง ตลอดจนมีวรรณคดีเฉพาะเกี่ยวกับช้างโดยตรง คือ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ที่มีอยู่หลายฉบับ ดังมีฉบับเก่าแก่สุดเป็นฉบับขุนเทพกวี ส่วนฉบับล่าสุดเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความสำคัญของช้างมีเป็นอเนกประการ ยุคสมัยที่เปลี่ยนอาจทำให้ความสำคัญลดลง แต่คุณค่าทางใจที่ควรรักษาไว้ด้วยความเมตตาต่อช้างไม่ควรจะลดลง.























ข่าวหลินฮุ่ยกับลูกน้อยสามารถครองพื้นที่บางส่วนบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข่าวผ่านจอทีวีในแต่ละวันหมีแพนด้าเป็นข่าวได้ เป็นภาพสวยๆ และน้ำจิตน้ำใจคนไทยก็เมตตาเอ็นดู กลุ่มผู้เขียนอดคิดถึงช้างไทย ที่อยู่คู่ไทยมานมนาน
จึงได้ปรึกษาและค้นหาข้อมูล ที่มา และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่าง “ ช้างไทย กับหมีแเพนด้า ” ดังต่อไปนี้





การศึกษาวิเคราะห์




นายสมชาย แก่นเมือง
นางเขมิกา แก่นเมือง
นายวิษณุ ถิ่นจอม
นายบูรพา กองพร
นายสุบรรณ กมลเลิศ
นายสมบัติ ไพฑูรย์
นายสุประกิจ ทับทิมทอง
นายพีรพงศ์ โพธาชัย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น